ผลิตภัณฑ์ Bio ในทุเรียน

ACADEMIC & NEWS

Suwanphingkarn

ผลิตภัณฑ์ Bio ในทุเรียน

สารกระตุ้นทางชีวภาพ (Biostimulants) คือ สารประกอบ สสารหรือจุลินทรีย์ที่มีมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป หรือการรวมตัวของสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดเป็นสารกระตุ้นทางชีวภาพ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับพืชและดิน เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง เพิ่มผลผลิต พร้อมทั้งต้านทานโรคพืชต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี  ช่วยกระตุ้นการให้สารอาหารต่อพืชอย่างเป็นอิสระ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระบวนการสร้างและสลาย เมตาบอลิซึ่ม (Metabolism) ของพืช ส่งผลให้พืชมีผลผลิตเพิ่มขึ้นและคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการต้านทานโรคพืช และฟื้นฟูพืชจากภาวะเครียดจากสิ่งแวดล้อม เพิ่มคุณภาพโดยรวมของผลผลิต รวมไปถึง ความหวาน(ปริมาณน้ำตาล) สีสัน ความสมบูรณ์ของเมล็ด ฯลฯ ซึ่งมีกลไกการทำงานที่แตกต่างจากปุ๋ยธรรมดาทั่วไป เพราะปุ๋ยทั่วไป ที่ช่วยส่งเสริมด้านการเจริญเติบโตของพืชเท่านั้น แต่ไม่ได้เสริมประสิทธิภาพในการต้านทานศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ ให้แก่พืช จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ปลูกทุเรียนในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหันมาเริ่มใช้ ผลิตภัณฑ์ bio ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ดี เห็นผลเร็ว อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ใช้และไม่มีสารพิษสิ่งตกค้าง โดยมีผลิตภัณฑ์ 3 ตัวหลักๆ ได้แก่

 

 

ทุเรียน (Durio zibethinus Murray) เป็นทุเรียนไม้ผลพุ่มใหญ่ มีการจัดเรียงกิ่งไม่เป็นระเบียบ การทำมุมกับลำต้น มีทั้งทำมุมฉาก มุมแคบ และมุมกว้าง รูปร่างใบยาวเรียว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม เป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วยเอสเทอร์ คีโตน และสารประกอบกำมะถัน เจริญเติบโตง่าย ตั้งพุ่มเร็ว การติดผลง่ายและมีปริมาณมาก ให้ผลขนาดกลางถึงใหญ่ เนื้อหนาสีเหลือง มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมันพอดี ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตเร็ว

 

การขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง การเสียบยอด แต่ที่นิยมเพื่อให้ได้พันธุ์คงเดิม คือ การเสียบยอด กับ การทาบกิ่ง การปลูกทุเรียนเหมาะกับดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร และมีความเป็นกรดด่าง 5.5-6.5 อากาศร้อนชื้น มีน้ำเพียงพอ  การเลือกต้นพันธุ์ เลือกต้นที่มีความแข็งแรง ตรงตามพันธุ์ และต้นตอจะต้องเป็นพันธุ์พื้นเมือง ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ระบบรากไม่ขดหรืองอ มีใบหนาและเขียวเข้ม 

การดูแลรักษาทุเรียนแต่ละระยะปลูก

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

โรคพืช :

  • โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน (Phytophthora Root and Foot Rot) สาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora palmivora (Bultler) Bultler 
    • ลักษณะอาการ  บริเวณทรงต้นด้านบน : ใบมีลักษณะด้าน สลด ไม่เป็นมันเงาเหมือนใบปกติ สีใบเริ่มเหลืองและหลุดร่วง ต้นทรุดโทรม บางครั้งเหลือแต่กิ่ง
  • โรคใบติดทุเรียน (Rhizoctonia Leaf Blight) สาเหตุ : เชื้อรา Rhizoctonia solani Kühn
    • ลักษณะอาการ   พบแผลช้ำคล้ายถูกน้ำร้อนลวกขึ้นกระจายบนใบแผล มีขนาดไม่แน่นอน  ต่อมาขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก่อนลุกลามไปที่ใบปกติข้างเคียง โดยเชื้อสาเหตุสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดไว้ด้วยกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งห้อยติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง จนเกิดการลุกลามของโรคใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบที่เหลือจะค่อยๆ ร่วงจนเหลือแต่กิ่ง ซึ่งก็จะแห้งตามไปด้วย
  • โรคราสีชมพู (Pink Disease) สาเหตุ : เชื้อราคอร์ทีเซียม (Corticium salmonicolor)
    • ลักษณะอาการ เมื่อมองดูจากนอกทรงพุ่ม จะเห็นอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายอาการกิ่งแห้ง หรือโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา แต่หากสังเกตตามกิ่งด้านในของทรงพุ่มจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุม โคนกิ่งที่แสดงอาการ เมื่อเชื้อเจริญลุกลามและมีอายุมากขึ้น เส้นใยขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์เพื่อการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป เมื่อถากส่วนของกิ่งที่มีเชื้อรา ปกคลุมอยู่จะเห็นเนื้อเปลือกแห้งเป็นสีน้ำตาล

แมลงศัตรู :

  • หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (durian seed borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mudaria luteileprosa Holloway
    • ลักษณะการทำลาย   หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียน ถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียน ทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ กระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว หลังจากหนอนเจาะออกมาจึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า “หนอนรู”

  • เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (durian psyllids) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allocaridara malayensis Crawford.
    • ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน พบระบาดทำความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมากในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วไป ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูด กินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต เมื่อระบาดมากๆ ทำให้ใบหงิกงอ และถ้าเพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมากและ ยังไม่คลี่ออกจะทำให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา ระยะตัวอ่อนทำความ เสียหายมากที่สุด และแมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด
  • เพลี้ยไฟ (thrips) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips dorsalis Hoodชื่ออื่น : เพลี้ยไฟพริก
    • ลักษณะการทำลาย ในทุเรียนพบเพลี้ยไฟหลายชนิดทำลายใน ระยะพัฒนาการต่างๆ แต่ที่พบมากและสำคัญที่สุดคือ เพลี้ยไฟพริก ทั้งตัวอ่อนและ ตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช มีผลทำให้ใบอ่อนหรือยอดอ่อน ชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้ง หงิกงอ และไหม้ การทำลายในช่วงดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แคระแกร็น และร่วง ในช่วงผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผลและเกิดอาการปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็น เพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม–พฤษภาคม ซึ่งตรงกับระยะที่ต้นทุเรียนออกดอกติดผล เพลี้ยไฟมีอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มปริมาณได้มาก

06 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 80 ครั้ง

Engine by shopup.com